สวัสดีครับทุกท่าน

จริง ๆ สืบเนื่องจากที่บริษัท เลี่ยนอุดม จำกัด หรือ Lianudom Digital Group (LDG) ของเราได้รับรองมาตรฐานการพัฒนาซอฟต์แวร์ระดับสากล ISO29110 เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น บริษัทเราเองก็ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้เป็นมาตรฐานมากขึ้นเช่นกันครั้นจะเก็บข้อมูลลงกระดาษไว้เหมือนเดิมก็คงจะยุ่งยากในกระบวนการทำงานพอสมควร วันนี้จึงอยากมาแนะนำเครื่องมือที่เราใช้กันภายในบริษัทฯ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับทางผู้อ่าน หรือบริษัทฯ SMEs ที่กำลังมองหาเครื่องมือต่าง ๆ ในการบริหารองค์กรครับ

Email & Collaborative Documents

Google Workspace

บริษัทของเราเลือกใช้งาน Google WorkSpace ด้วยเหตุผลว่า มีความคุ้นเคยกับการใช้งาน Google Service อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น Gmail / Google Documents / Google Forms รวมไปถึงมั่นใจในระบบการรักษาความปลอดภัยของ Google อีกด้วย โดยที่ตัวแผนที่เราเลือกใช้นั้นเป็นค่าบริการ 12 USD / Month / Account ซึ่งจะเห็นว่ามีราคาที่ค่อนข้างสูง แต่จริงๆ แล้วในช่วงเริ่มต้นขององค์กรนั้นเราสามารถเลือกใช้แผน 6 USD / Month / Account ได้ครับ แตกต่างกันเรื่องของพื้นที่ที่ Google มีให้เราใช้นั่นเอง

File Storages

ในแง่ของการจัดเก็บไฟล์ต่าง ๆ นั้น ปกติเราคงจะมีการจัดเก็บกันในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใน External Harddisk กันอยู่แล้ว แต่หลังจากที่บริษัทเคยมีประสบการณ์ไม่ดีเกี่ยวกับการจัดเก็บรักษาตัว External HD ไม่ดีพอ หรือแม้กระทั่งคอมพิวเตอร์หาย ติดไวรัส ติดมัลแวร์ต่าง ๆ ก็อาจจะทำให้ไฟล์ที่เราจัดเก็บเอาไว้หายไป ซึ่งนั่นทำให้กระทบกับการทำงานเป็นอย่างมาก ดังนั้นทางบริษัทจึงได้มีการวางแผนใหม่เกี่ยวกับการจัดเก็บไฟล์ต่าง ๆ ในรูปแบบออนไลน์โดยเลือกใช้บริการกับผู้ให้บริการดังนี้

Google Drive

เป็นบริการที่คุ้นเคยเป็นอย่างดี ใช้งานง่าย คุ้นเคย และจัดการสิทธิในการเข้าถึงได้อย่างสะดวกเป็นอย่างมาก เชื่อว่าหลาย ๆ ก็ใช้งานอยู่แล้ว

Microsoft One Drive for Business

เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เราเลือกใช้สำหรับเก็บไฟล์ของโปรเจ็คที่ได้ทำการปิดโครงการ หรือส่งงานไปแล้ว (เรียกว่าเป็นส่วนของไฟล์ที่ไม่ค่อยได้เรียกใช้งาน) สาเหตุหลัก ๆ ที่เลือกใช้คือ ราคาค่อนข้างประหยัดและให้พื้นที่เยอะ แต่มีข้อเสียเล็ก ๆ สำหรับสาย Google คือ หน้าตาไม่คุ้น และ User Experience ค่อนข้างแตกต่างกับ Google เป็นอย่างมาก ทำให้ต้องใช้เวลาในการปรับตัวค่อนข้างมากทั้งในแง่ของ Admin และผู้ใช้งานทั่วไป

Customer Relations Management (CRM)

Freshsales Suite

ระบบการบริหารความสัมพันธ์ (ที่ดี) กับลูกค้า นั้นทางเราลองผิดลองถูกกันมามากครับ เลือกใช้มาเกือบทุกระบบ แต่ส่วนใหญ่จะเป็น Software as a Service นะครับ จึงไม่ได้ลงทุนเงินจำนวนมากไป แต่ที่เสียไปเยอะ ๆ แน่ ๆ คือเวลาในการเรียนรู้และศึกษากระบวนการใช้งานต่าง ๆ ของแต่ละระบบมากกว่า แต่แล้วสืบเนื่องจากช่วงที่ทางทีมงานเข้าไปทำระบบ TPHS และ SHABA นั้นมีโอกาสได้ใช้งานระบบหนึ่งของ Freshwork นั้นคือ FreshChat ซึ่งทำงานได้เป็นอย่างดี จึงรู้สึกประทับใจแล้วทดลองใช้งาน Freshsales Suite และหลังจากได้ทดลองใช้งานถือว่าเป็นระบบการจัดการติดต่อกับลูกค้าได้เป็นอย่างดีมาก ๆ ทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกประวัติการติดต่อกับลูกค้าแต่ละราย ช่องทางการรับการติดต่อ การแจ้งเตือนต่าง ๆ นอกจากนั้นยังสามารถสร้าง กฏ สำหรับทำ Sales Automation ได้อีกด้วย ที่สำคัญราคาไม่แรงมากใช้กับทีม Sale ไม่ใหญ่ได้อย่างสบาย ๆ

Accounting

FlowAccount

บริษัทของเราเลือกใช้งานระบบ Cloud based Accounting System ของ FlowAccount ซึ่งถือว่าเป็นระบบของคนไทยที่ทำระบบบัญชีมาได้อย่างดีและเข้าใจผู้ใช้งานชาวไทย ระบบบัญชีไทย และสรรพากรของไทยมาก ๆ แต่ก่อนที่จะมาเลือกใช้งานระบบของ FlowAccount นั้นทางบริษัทก็ได้มีการใช้งานระบบ Word / Excel มาแล้วซึ่งไม่สะดวกในการใช้งานรวมถึงการทำสรุปข้อมูลและส่งต่อให้บัญชียากมาก รวมไปถึงทดลองเปิดใช้งานกับระบบบัญชีของต่างประเทศเจ้าใหญ่ ๆ แล้วที่มีสำนักงานบัญชีในเมืองไทยรับจัดการอยู่ซึ่งหลังจากทดลองใช้แล้วพบว่าบริษัทของเรานั้นอาจจะยังไม่สามารถใช้งานระบบใหญ่ขนาดนั้นได้เต็มการทำงาน จึงยกเลิกไปแล้วมาใช้งาน FlowAccount ในที่สุด

Collaborative System

Notion

ระบบนี้เป็นระบบที่เพิ่งเข้ามาเพิ่มเติมช่วงหลังซึ่งเข้ามามีส่วนช่วยในการบันทึกข้อมูลในการทำงานด้านต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเราใช้ในกระบวนการทำเอกสารเพื่อรองรับมาตรฐานของ ISO29110 ซึ่งเน้นเรื่องกระบวนการที่สามารถ Track & Trace และมีหลักฐานได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมี Template ให้เลือกในการจัดการแต่ละเรื่องหลากหลายมาก ทำให้ค่อนข้างคล่องตัวในการจัดการต่าง ๆ ข้อเสียมีข้อเดียว “ราคาสูง”

Data Visualization

Google Looker (ชื่อเดิม Google Data Studio)

ก่อนหน้าที่จะได้ใช้งาน Google Looker หรือชื่อเดิมคือ Google Data Studio นั้นก็เคยใช้แค่ฟังก์ชั่น Insert > Chart ใน Google Sheets เท่านั้น แต่เมื่อข้อมูลมีจำนวนมากไม่สามารถรันผ่าน Google Sheets ได้นั้นเล่นเอางงไปเหมือนกัน และเมื่อได้มารู้จักกับ Google Looker ก็รู้เลยว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทำ Business Inteligence ได้เป็นอย่างดี เกือบเทียบเท่ากับ Microsoft Power BI หรือ Tableau ได้ แต่ต่อให้ความสามารถของ Looker สู้อีก 2 เจ้าไม่ได้ แต่ด้วยความสามารถเรื่องเครื่องมือพื้นฐานที่มีให้ใช้ และ สามารถใช้งานได้ฟรี ก็เพียงพอที่จะให้เลือกใช้งาน Looker ยาว ๆ ได้ไม่ยาก

สรุป

หวังว่าการแนะนำเครื่องมือที่บริษัทใช้ในการบริหารองค์กรเบื้องต้นเหล่านี้จะมีประโยชน์สำหรับผู้อ่านซึ่งสามารถนำเครื่องมือเหล่านี้ไปปรับใช้งานได้ หากมีเครื่องมืออื่น ๆ ฝากแนะนำกันได้นะครับ

กดถูกใจเพื่อให้กำลังใจเราด้วยนะครับ


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

lianudom-phuket-digital-agency-ldg_logo_final-06
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.